ส่วนที่ 1
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
1. ด้านกายภาพ
-
ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดสตูลขึ้นมาตามทางหลวง
แผ่นดิน หมายเลข 406 สายยนตรการกำธร (สตูล-สามแยกท่าชะมวง) อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 20 กิโลเมตร

1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลควนกาหลง ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลย่านซื่อ อำเภอควนโดน และตำบลควนโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลควนสตอ และตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพและตำบลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
องค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 26,706 ไร่ (42.72 ตร.ม.)
เป็นพื้นที่ทางการเกษตร มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 15,504 ไร่ (24.80 ตร.ม.)
เป็นที่อยู่อาศัย มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 11,202 ไร่ (17.92 ตร.ม.)
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
เนื่องจากจังหวัดสตูลเป็นจังหวัดที่อยู่ใกล้ทะเล อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีมีค่าไม่เปลี่ยนแปลง
มากนัก และมีฝนตกชุกในฤดูฝน เพราะอยู่ทางด้านรับลม จึงได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดผ่านมหาสมุทรอินเดียอย่างเต็มที่ ส่วนฤดูหนาวอากาศไม่หนาวจัดเพราะอยู่ไกลจากอิทธิพลของอากาศหนาวพอสมควร และบางครั้งอาจมีฝนตกได้เนื่องจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านอ่าวไทยพาเอาฝนตก แต่มีปริมาณน้อยกว่าจังหวัดที่อยู่ทางด้านตะวันออกของภาคใต้
ฤดูกาลของจังหวัดสตูล พิจารณาตามลักษณะภูมิอากาศของประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3 ฤดู ดังนี้
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนมกราคมถึงกลางเดือนพฤษภาคม ระยะนี้เป็นช่วงว่างของฤดูมรสุม จะมีลมจากทิศตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุม ทำให้อากาศร้อนอบอ้าวทั่วไป เดือนที่มีอากาศร้อนที่สุดคือเดือนมีนาคม
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ซึ่งช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย และในช่วงปลายฤดูฝนจะมีร่องความกดอากาศต่ำเลื่อนลงมาพาดผ่านทำให้ฝนตกเพิ่มขึ้น
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนมกราคม ซึ่งเป็นฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะมีลมเย็นและแห้งจากประเทศจีนพัดผ่าน ทำให้อากาศหนาวเย็นทั่วไป แต่เนื่องจากจังหวัดสตูลอยู่ใกล้ทะเล อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อยอากาศจึงไม่หนาวมากนัก และตามชายฝั่งจะมีฝนตกทั่วไป
อุณหภูมิ จังหวัดสตูลอยูใกลทะเล ฤดูรอนอากาศจึงไมรอนมาก สวนฤดูหนาวไมถึงกับหนาวจัด อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปประมาณ 32 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 36 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยทั้งป 31 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดที่เคยตรวจวัดไดคือ 36 องศาเซลเซียส เดือนที่มีอากาศเย็นที่สุดคือเดือนกุมภาพันธ และอุณหภูมิต่ำที่สุดวัดได 27.5 องศาเซลเซียส
1.4 ลักษณะของดิน
แบ่งตามลักษณะของดินได้ 2 ประเภท คือ
(1) กลุ่มดินที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการประกอบอาชีพทำนา (ทำนา สวนผลไม้ ไม้ยืนต้น) สภาพของกลุ่มดินชุดนี้มีลักษณะค่อนข้างราบเรียบ (ลาดชัน 1 – 3%) ระบายน้ำได้ดีปานกลางถึงดีมาก เป็นดินร่วน ดินเหนียวทราย
(2) กลุ่มดินที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมในการทำการเกษตรกรรม เป็นกลุ่มดินที่ระบายน้ำได้เลวและดีปานกลาง เป็นดินร่วนหรือดินปนทรายแป้งและเป็นกรดแก่ ซึ่งเหมาะสมการทำเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และปลูกป่าเศรษฐกิจ แหล่งน้ำธรรมชาติ
2. ด้านการเมือง/การปกครอง
2.1เขตการปกครอง
ตำบลควนโดน มีเขตการปกครอง จำนวน 10 หมู่บ้าน ประกอบด้วย
(1)บ้านควนโดน หมู่ที่ 1 เป็นเขตการปกครองของเทศบาลตำบลควนโดน
นายนพรัตน์ มาลินี เป็นผู้ใหญ่บ้าน
(2)บ้านสะพานเคียน หมู่ที่ 2 นายเดชา แซะอาหลี ผู้ใหญ่บ้าน
(3)บ้านถ้ำทะลุ หมู่ที่ 3 นายวิรัต สามัญ ผู้ใหญ่บ้าน
(4)บ้านควนโต๊ะเหลง หมู่ที่ 4 นายบุญรัตน์ ยะรินทร์ ผู้ใหญ่บ้าน
(5)บ้านดุสน หมู่ที่ 5 เป็นเขตการปกครองของเทศบาลตำบลควนโดน
นายทรงพล เกปัน ผู้ใหญ่บ้าน
(6)บ้านหัวสะพานเหล็ก หมู่ที่ 6 นายอับดุลวาหาบ หลีเส็น กำนันตำบลควนโดน
(7)บ้านบูเกตยามู หมู่ที่ 7 นายอาหมาดซอและ หมันเล๊ะ ผู้ใหญ่บ้าน
(8)บ้านปลักใหญ่ใจดี หมู่ที่ 8 นายสมคิด จันทร์ล่องลอย ผู้ใหญ่บ้าน
(9)บ้านนาปริก หมู่ที่ 9 นายอนันต์ สามัญ ผู้ใหญ่บ้าน
(10)บ้านคลองบาราเกต หมู่ที่ 10 นายฮาหมีด หลังเกตุ ผู้ใหญ่บ้าน
2.2 การเลือกตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน เดิมเป็นสภาตำบลควนโดน และได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลควนโดน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลควนโดน อำเภอควนโดนจังหวัดสตูล เป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ประจำปี พ.ศ.๒๕๔๐ ตั้งแต่วันที่ ๒๓ เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๐ ปัจจุบันนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน มีพื้นที่ ๔2.72 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลควนโดน จำนวน 8 หมู่บ้าน
สภาองค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน ประกอบด้วย สมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน จำนวน 8 คน ทำหน้าที่ เป็นฝ่ายนิติบัญญัติและควบคุมการบริหารงานของคณะผู้บริหารท้องถิ่น ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้รับรองผลการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน ตามมติคณะกรรมการการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕64 ซึ่งมีคณะผู้บริหารท้องถิ่น ประกอบด้วย
(1)นายกองค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน จำนวน ๑ คน มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับรองผลการเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน ตามมติคณะกรรมการการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕64
(2)รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน จำนวน ๒ คน แต่งตั้งโดย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2565
(3)เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน จำนวน ๑ คน แต่งตั้งโดย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2565
บทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมทางการเมืองและการบริหารประชาชนไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน ๒๕64 จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 4,533 คน มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 3,809 คน คิดเป็นร้อยละ 84.03 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด โดยมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน 8 คน และคณะผู้บริหารท้องถิ่น จำนวน 4 คน ดังมีรายชื่อต่อไปนี้
คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน ประกอบด้วย
๑.นายวริศ มาลินี นายกอบต.ควนโดน (เลือกตั้ง 28 พฤศจิกายน 2564)
๒.นายวินิช ตาเดอิน รองนายกอบต.ควนโดนคนที่ 1 (แต่งตั้ง 6 มกราคม 2565)
๓.นายสอาด เทศอาเส็น รองนายกอบต.ควนโดนคนที่ 2 (แต่งตั้ง 6 มกราคม 2565)
๔.นายตอเหลบ หวังกุหลำ เลขานุการนายกอบต.ควนโดน (แต่งตั้ง 6 มกราคม 2565)
โดยนายกองค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน ได้แถลงนโยบายเป็นหนังสือ เมื่อวันที่6 มกราคม 2565
สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน แต่งตั้งเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2556 ประกอบด้วย
1. นายก็หลัด บินหมาน ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน
๒. นายก่อเร็น ล่านุ้ย รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน
๓. นายดาวุด หวังกุหลำ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน หมู่ที่ 2
4. นายรอเฉด ลัสมาน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน หมู่ที่ 3
5. นายประสิทธิ์ ตาเดอิน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน หมู่ที่ 4
6. นายอานันต์ ดาหมาด สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน หมู่ที่ 7
7. นายภาษิต บุญณชาตรี สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน หมู่ที่ 8
8. นายอาบีดีน ล่านุ้ย สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน หมู่ที่ 10
3. ประชากร
3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร ข้อมูลเปรียบเทียบย้อนหลัง ปี พ.ศ.2562
ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร ข้อมูลเปรียบเทียบย้อนหลัง ปี พ.ศ.2562
หมู่ที่
|
ชื่อ – หมู่บ้าน
|
พื้นที่
(ไร่)
|
ประชากร
|
จำนวน
ครัวเรือน
|
หมายเหตุ
|
ชาย
|
หญิง
|
รวม
|
|
|
1
|
บ้านควนโดน
|
-
|
-
|
-
|
-
|
-
|
ในเขตเทศบาล
|
2
|
บ้านสะพานเคียน
|
8,725
|
695
|
745
|
1,440
|
349
|
|
3
|
บ้านถ้ำทะลุ
|
3,750
|
223
|
209
|
432
|
143
|
|
4
|
บ้านควนโต๊ะเหลง
|
1,000
|
570
|
572
|
1,142
|
294
|
|
5
|
บ้านดูสน
|
-
|
-
|
-
|
-
|
-
|
ในเขตเทศบาล
|
6
|
บ้านหัวสะพานเหล็ก
|
3,500
|
609
|
630
|
1,239
|
434
|
|
7
|
บ้านบูเก็ตยามู
|
2,450
|
377
|
367
|
744
|
186
|
|
8
|
บ้านปลักใหญ่ใจดี
|
1,500
|
208
|
213
|
421
|
130
|
|
9
|
บ้านนาปริก
|
1,781
|
270
|
278
|
548
|
128
|
|
10
|
บ้านคลองบาราเกต
|
4,000
|
121
|
124
|
245
|
63
|
|
รวม
|
26,706
|
3,073
|
3,138
|
6,211
|
1,727
|
|
หมายเหตุ:ที่มาจากสำนักงานทะเบียนอำเภอควนโดน ณ เดือนเมษายน 2562
ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร ข้อมูลเปรียบเทียบย้อนหลัง ปี พ.ศ.2563
หมู่ที่
|
ชื่อ – หมู่บ้าน
|
พื้นที่
(ไร่)
|
ประชากร
|
จำนวน
ครัวเรือน
|
หมายเหตุ
|
ชาย
|
หญิง
|
รวม
|
|
|
1
|
บ้านควนโดน
|
-
|
-
|
-
|
-
|
-
|
ในเขตเทศบาล
|
2
|
บ้านสะพานเคียน
|
8,725
|
696
|
738
|
1,434
|
364
|
|
3
|
บ้านถ้ำทะลุ
|
3,750
|
225
|
216
|
441
|
144
|
|
4
|
บ้านควนโต๊ะเหลง
|
1,000
|
567
|
575
|
1,142
|
299
|
|
5
|
บ้านดูสน
|
-
|
-
|
-
|
-
|
-
|
ในเขตเทศบาล
|
6
|
บ้านหัวสะพานเหล็ก
|
3,500
|
605
|
632
|
1,237
|
441
|
|
7
|
บ้านบูเก็ตยามู
|
2,450
|
391
|
370
|
761
|
190
|
|
8
|
บ้านปลักใหญ่ใจดี
|
1,500
|
208
|
208
|
416
|
130
|
|
9
|
บ้านนาปริก
|
1,781
|
275
|
283
|
558
|
130
|
|
10
|
บ้านคลองบาราเกต
|
4,000
|
125
|
125
|
250
|
64
|
|
รวม
|
26,706
|
3,102
|
3,150
|
6,252
|
1,763
|
|
หมายเหตุ:ที่มาจากสำนักงานทะเบียนอำเภอควนโดน ณ เดือนสิงหาคม 2563
ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร ข้อมูลเปรียบเทียบย้อนหลัง ปี พ.ศ.2564
หมู่ที่
|
ชื่อ – หมู่บ้าน
|
พื้นที่
(ไร่)
|
ประชากร
|
จำนวน
ครัวเรือน
|
หมายเหตุ
|
ชาย
|
หญิง
|
รวม
|
|
|
1
|
บ้านควนโดน
|
-
|
-
|
-
|
-
|
-
|
ในเขตเทศบาล
|
2
|
บ้านสะพานเคียน
|
8,725
|
694
|
742
|
1,436
|
374
|
|
3
|
บ้านถ้ำทะลุ
|
3,750
|
229
|
213
|
442
|
145
|
|
4
|
บ้านควนโต๊ะเหลง
|
1,000
|
575
|
585
|
1,160
|
306
|
|
5
|
บ้านดูสน
|
-
|
-
|
-
|
-
|
-
|
ในเขตเทศบาล
|
6
|
บ้านหัวสะพานเหล็ก
|
3,500
|
616
|
640
|
1,256
|
450
|
|
7
|
บ้านบูเก็ตยามู
|
2,450
|
388
|
372
|
760
|
193
|
|
8
|
บ้านปลักใหญ่ใจดี
|
1,500
|
213
|
203
|
416
|
132
|
|
9
|
บ้านนาปริก
|
1,781
|
278
|
281
|
559
|
130
|
|
10
|
บ้านคลองบาราเกต
|
4,000
|
128
|
127
|
255
|
64
|
|
รวม
|
26,706
|
3,121
|
3,163
|
6,284
|
1,794
|
|
หมายเหตุ:ที่มาจากสำนักงานทะเบียนอำเภอควนโดน ณ เดือนธันวาคม 2564
3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร
ชาย หญิง รวม
เป็นบุคคลที่มีสิทธิ์เลือกตั้งอายุ 18 ปี ขึ้นไป 2,262 คน 2,354 คน 4,616 คน
หมายเหตุ : ที่มาจากสำนักงานทะเบียนอำเภอควนโดน ณ เดือน ธันวาคม 2564
4. สภาพทางสังคม
4.1 การศึกษา
สถานศึกษามีจำนวน 3 โรงเรียน ประกอบด้วย
ลำดับที่
|
ชื่อโรงเรียน
|
จำนวนครู
|
จำนวนนักเรียน
|
จำนวนห้อง
เรียน (ห้อง)
|
เปิดสอนระดับชั้น
|
ชาย
|
หญิง
|
รวม
|
ชาย
|
หญิง
|
รวม
|
1
|
บ้านควนโต๊ะเหลง
|
-
|
11
|
11
|
61
|
67
|
128
|
8
|
อนุบาล – ชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 6
|
2
|
บ้านดูสน
|
1
|
11
|
10
|
67
|
74
|
141
|
8
|
อนุบาล – ชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 6
|
3
|
บ้านบูเก็ตยามู
|
7
|
5
|
12
|
73
|
66
|
139
|
8
|
อนุบาล – ชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 6
|
|
รวมทั้งสิ้น
|
8
|
27
|
33
|
201
|
207
|
408
|
24
|
|
ข้อมูลเดือนกุมภาพันธ์ 2565
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีจำนวน 2 แห่ง ประกอบด้วย
|
|
จำนวนนักเรียน
|
|
|
ลำดับที่
|
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
|
อายุระหว่าง
0-2 ปี
|
อายุระหว่าง
3-5 ปี
|
รวม
ทั้งหมด
|
หมายเหตุ
|
|
|
ชาย
|
หญิง
|
ชาย
|
หญิง
|
|
|
1.
|
ศพด.บ้านควนโต๊ะเหลง
|
9
|
8
|
15
|
18
|
50
|
มีครู 2 คน
มีผู้ดูแลเด็ก 2 คน
มีจ้างเหมา 1 คน
|
2.
|
ศพด.บ้านบูเกตยามู
|
0
|
3
|
18
|
25
|
46
|
มีครู 2 คน
มีผู้ดูแลเด็ก 1 คน
มีจ้างเหมา 1 คน
|
|
รวมทั้งสิ้น
|
9
|
11
|
33
|
43
|
96
|
|
ข้อมูลเดือนกุมภาพันธ์ 2565
4.2 สาธารณสุข
พื้นที่ในเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน ไม่มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและโรงพยาบาลของรัฐบาล ประชาชนจะใช้บริการด้านสาธารณสุขจากหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่45, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลควนโดน และโรงพยาบาลควนโดน ตั้งอยู่ในเขตตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน มีศูนย์สาธารณสุขมูลฐานประจำหมู่บ้าน (ศูนย์ศสมช.) จำนวน 7 แห่ง ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 2,3,4,6,7,8,9 ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
4.3 อาชญากรรม
พื้นที่ในเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน ไม่มีสถานีตำรวจภธรอยู่ในพื้นที่ แต่จะมีสถานีตำรวจภูธรควนโดน ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลควนโดน ทำหน้าที่รับผิดชอบ ดูแลความสงบเรียบร้อยภายในพื้นที่ทั้งหมดของตำบลควนโดน ลักษณะอาชญากรรมในพื้นที่ส่วนใหญ่ จะเกิดจากวัยรุ่นที่ไม่ได้ศึกษาต่อจากภาคบังคับ เช่น ติดยาเสพติด น้ำกระท่อม ยาบ้า และมีคดีลักขโมยรถจักรยานต์เกิดขึ้นในพื้นที่
4.4 ยาเสพติด
การแพร่ระบาดของยาเสพติดในพื้นที่เขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน เป็นลักษณะหลงผิดเข้าสู่วงจรของการซื้อขายและเสพยาเสพติดเป็นจำนวนมาก ประกอบกับในพื้นที่มีลักษณะเป็นป่ารกทึบ ทำให้มีพืชกระท่อมเจริญเติบโตได้ดี และมีกลุ่มเด็ก เยาวชน ได้นำใบกระท่อมผสมกับยาไอ มาต้มดื่มกัน
4.5 การสังคมสงเคราะห์
องค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลในการช่วยเหลือเยียวยาให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์และมีเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดเดือนละ 600 บาท ตั้งแต่อายุ 0-6 ปี โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
อายุ 60-69 ปี จำนวน 477 คน เดือนละ 600 บาท
อายุ 70-79 ปี จำนวน 209 คน เดือนละ 700 บาท
อายุ 80-89 ปี จำนวน 125 คน เดือนละ 800 บาท
อายุ 90 ปีขึ้นไป จำนวน 11 คน เดือนละ 1,000 บาท
เบี้ยยังชีพผู้พิการ
ผู้พิการ จำนวน 151 คน เดือนละ 800 บาท
ผู้พิการที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี จำนวน 26 คน เดือนละ 1,000 บาท
เบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์
ผู้ป่วยเอดส์ จำนวน 8 คน เดือนละ 500 บาท
เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด
จำนวน 200 คน เดือนละ 600 บาท
หมายเหตุ: ข้อมูล ณ เดือน กุมภาพันธ์ 2565
5. ระบบบริการพื้นฐาน
5.1 การคมนาคมขนส่ง(ทางบก,ทางน้ำ,ทางราง ฯลฯ)
5.2 การไฟฟ้า
จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ 100%
5.3 การประปา
จำนวนครัวเรือนที่มีน้ำประปาหมู่บ้านและน้ำประปาภูเขาใช้ ประมาณร้อยละ 90
5.4 โทรศัพท์
มีเครือข่ายโทรศัพท์ของทีโอทีและของเอกชนครอบคลุมทุกพื้นที่
5.5 ระบบโลจิสติกส์(Logistics) หรือการขนส่ง
มีที่ทำการไปรษณีย
มีที่ทำการไปรษณีย์ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 1 ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
6. ระบบเศรษฐกิจ
6.1 การเกษตร
ประชากรในพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก ได้แก่ การทำนา ทำสวนยาง ทำสวนปาล์ม ทำสวนผลไม้ มีพื้นที่ทั้งหมด 15,504 ไร่ โดยมีอาชีพเสริม คือ การเลี้ยงสัตว์และรับจ้าง ส่วนอุตสาหกรรมในครัวเรือนจะเป็นโรงสีข้าวและร้านค้าขนาดเล็ก จำหน่ายของใช้จำเป็นที่ใช้ในการอุปโภคบริโภค อาชีพหลัก ดังนี้
(1) การทำนา การปลูกข้าวของเกษตรกรตำบลควนโดน ส่วนใหญ่ปลูกไว้เพื่อบริโภคใน
ครอบครัว โดยเริ่มปลูกข้าวนาปี ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม และเก็บเกี่ยวในเดือนธันวาคม มีพื้นที่เพาะปลูก จำนวน 4,916 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 1,966 ตัน และมีกลุ่มเกษตรกรที่รวมตัวกันปลูกข้าวนาปรัง เพื่อจำหน่าย จำนวน 1 กลุ่ม มีพื้นที่เพาะปลูก จำนวน 300 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 150 ตัน
(2) การทำสวนยางพารา เป็นอาชีพหลักเช่นเดียวกับการทำนาข้าว มีพื้นที่ใช้ในการเพาะปลูกจำนวน 8,696 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 1,739 ตัน ส่วนใหญ่จะเป็นสวนขนาดเล็กประมาณ 5 – 10 ไร่/ครอบครัว นอกจากนี้ ยังมีโรงงานแปรรูปไม้ยาง จำนวน 2 แห่ง ที่รับซื้อไม้ยางจากเกษตรกรในพื้นที่เพื่อแปรรูปและส่งจำหน่าย
(3) การทำสวนผลไม้ มีการปลูกกระจัดกระจายในพื้นที่ในลักษณะสวนหลังบ้านหรือใกล้ๆ บริเวณที่พักอาศัย ผลไม้ที่ปลูกกันมาก ได้แก่ ทุเรียน เงาะ จำปาดะ กระท้อน มังคุดและลองกอง มีพื้นที่เพาะปลูก จำนวน 1,892 ไร่ ผลไม้ที่ขึ้นชื่อของตำบลควนโดน คือ จำปาดะ ปัจจุบันเกษตรกรเริ่มเปลี่ยนอาชีพหลักจากอาชีพทำนา เป็นการทำสวนผลไม้ และทำสวนยางพารามากขึ้น เนื่องจากสภาพภูมิประเทศเหมาะสมกับการประกอบอาชีพ
6.2 การประมง
มีการใช้อวน เบ็ด สุ่ม ในการจับปลาในแม่น้ำลำคลอง ซึ่งเป็นวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม
6.3 การปศุสัตว์
ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่จะเลี้ยงสัตว์ควบคู่ไปกับการทำนาและทำสวน เกษตรกรนิยมเลี้ยงโค ไก่ เป็ด แกะ และแพะ เฉลี่ยครอบครัวละ 5 ตัว ส่วนมากเลี้ยงไว้เพื่อบริโภค
6.4 การบริการ
พื้นที่ในเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน มีบริการรถกู้ชีพ-กู้ภัย จำนวน 1 คัน ไว้สำหรับรับ-ส่ง ประชาชนกรณีมีอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยกรณีฉุกเฉิน สามารถโทร.ใช้บริการ 1669
6.5 การท่องเที่ยว
มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ดังนี้
- เขาถ้ำพระ ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 2 ตำบลควนโดน
- วังหมาก ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 3 ตำบลควนโดน
- ชลประทานคลองบราเกต (ถ้ำทะลุ) ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 3 ตำบลควนโดน
- ถ้ำทะลุ ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 3 ตำบลควนโดน
- สระน้ำเขาไฟไหม้ ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 10 ตำบลควนโดน
- ถ้ำประตูฟ้าดุสน ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 6 ตำบลควนโดน
- ชลประทานดุสน ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 6 , 5 ตำบลควนโดน - อ่างเก็บน้ำบ้านบูเก็ตยามู ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 7 ตำบลควนโดน
- อ่างเก็บน้ำเขาเพนียด (ชลประทานขนาดเล็กห้วยใหญ่) ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 9 ตำบลควนโดน
- ล่องเรือคลองดุสน ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 7 ตำบลควนโดน
- ไร่นาสวนผสม และเกษตรผสมผสาน ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 2 ตำบลควนโดน
6.6 อุตสาหกรรม
อุตสาหกรรม ในพื้นที่ตำบลควนโดนไม่มีโรงงานอุตสาหกรรม คงมีแต่โรงงานแปรรูปไม้ยางพารา และโรงสีข้าวไว้บริการสีข้าวในท้องถิ่น โดยคิดค่าบริการเป็นเงินหรือเปลี่ยนเป็นข้าวสาร
6.7 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
การพาณิชยกรรม การค้าขายในตำบลควนโดน มีลักษณะเป็นร้านค้าขายปลีก มีตลาดนัดเอกชน 2 แห่ง คือ ตลาดนัดดูสน และตลาดนัดควนโดน
ผลิตภัณฑ์ โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ มีจำนวน 1 ชนิด คือ กาแฟโบราณ
ตั้งอยู่ หมู่ที่ 2 บ้านสะพานเคียน ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
กลุ่มอาชีพ
(1)กลุ่มอาชีพกาแฟโบราณ หมู่ที่ 2 บ้านสะพานเคียน
(2)กลุ่มอาชีพแปรรูปผลผลิตด้านการเกษตร (หอมเจียว) หมู่ที่ 2 บ้านสะพานเคียน
(3)กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกสมุนไพรและแปรรูปสมุนไพร หมู่ที่ 3 บ้านถ้ำทะลุ
(4)กลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมอาชีพสตรีบ้านถ้ำทะลุ หมู่ที่ 3 บ้านถ้ำทะลุ
(5)กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแชมพูสมุนไพรเถาสะบ้า หมู่ที่ 7 บ้านนาปริก
(6)กลุ่มผู้สูงอายุรักษ์บูเก็ต หมู่ที่ 9 บ้านบูเก็ตยามู
(7)กลุ่มร้านค้าชุมชน หมู่ที่ 2 บ้านสะพานเคียน
(8)กลุ่มปุ๋ย หมู่ที่ 2 บ้านสะพานเคียน
6.8 แรงงาน
กลุ่มแรงงานที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลควนโดน ส่วนใหญ่จะเป็นชาวอีสาน เข้ามารับจ้างเป็นกรรมกรงานก่อสร้าง ส่วนอาชีพรับจ้างกรีดยางจะเป็นคนในพื้นที่เป็นส่วนใหญ่
7. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
8. ศาสน
7.1 การนับถือศาสนา
ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 90 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 10
7.2 ประเพณีและงานประจำปี
ประเพณี มีดังนี้
(1)วันเมาลิด หมายถึง การยกย่องวันเกิดของท่านนบีมุฮัมหมัด
|
- การดำเนินตาม การปฏิบัติในวันเกิดของท่าน คือ การถือศีลอดในวันจันทร์
- การมีความรักต่อท่านร่อซูล (ซ.ล.) เพราะการมีความรักต่อท่านร่อซูลนั้นคือ สิ่งที่แสดงถึงการมีอีมานของเขา
- การกล่าวซอลาวาตต่อท่านนบี (ซ.ล.) ส่วนหนึ่งจากการให้เกียรติยกย่องและมีความรักต่อท่านนบีคือ การกล่าวซอลาวาตต่อท่านนบี (ซ.ล.)
- การปฏิบัติตามคำสั่งใช้และการละเว้นที่จะปฎิบัติตามคำสั่งห้ามของท่านนบี
- ดำเนินตามแบบอย่างของท่านนบี (ซ.ล.)
|
(1) การจัดงานเมาลิด
|
มุสลิมในบางสังคมได้แสดงออกถึงความรัก การให้เกียรติยกย่อง ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ.ล.) โดยจัดงานคล้ายวันเกิดของท่านขึ้น ณ ที่นี้สมควรที่จะรู้ถึงประวัติ การจัดงานเมาลิดพอสังเขป
การจัดงานเมาลิดนบี เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ในโลกที่ประเทศอียิปต์ เมื่อปี ฮ.ศ. 362 ซึ่งขณะนั้นวงศ์ฟาตีมียฺ ซีอะฮฺ อิสมาอีลียะฮฺ เป็นผู้ปกครองอียิปต์ และได้สถาปนาอาณาจักรฟาตีมียขึ้น ผู้ปกครองขณะนั้นได้แก่
คลลีฟะฮฺ อัลมุอิชลิดีนิลลาฮฺ อัลฟาตีมีย
บรรยากาศของงานเมาลิดสมัยนั้น เต็มไปด้วยความครึกครื้น มีการประดับประดาสถานที่ต่างๆ ด้วยแสงสี มีการชุมนุมกัน และอ่านอัลกรุอ่านที่มัสญิด อ่านโคลง กลอน บทสุดดี และชีวประวัติของท่านนบี โดยผู้ที่มีเสียงดี พร้อมกันนั้น ก็มีการจัดสถานที่สำหรับแจกจ่ายทานบริจาคแก่ผู้ที่ยากจนขัดสน
|
(2)วันฮารีรายอ เป็นวันเฉลิมฉลองเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ของชาวมุสลิม โดยก่อนวันงาน ชาวมุสลิมจะออกมาจับจ่ายซื้อของ เสื้อผ้า และหมวกกะปิเยาะ เพื่อเตรียมต้อนรับเทศกาลฮารีรายอกันอย่างคึกคัก และในวันดังกล่าวชาวมุสลิมจะไปเยี่ยมเยียนพ่อแม่ ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน เพื่ออภัยต่อกันในสิ่งที่ผ่านมา มีการแสดงออกด้วยการสวมกอด การจูบมือ การหอมแก้มทั้งสองของพ่อแม่ เป็นการแสดงความรัก ลูกหลานที่อยู่ต่างภูมิลำเนาต่างกลับบ้าน เมื่อมาขออภัยและอำนวยพรให้พ่อแม่ ทุกครัวเรือนจะมีความอบอุ่นไปด้วยบรรดาลูก ๆ หลาน ๆ กลับบ้านโดยพร้อมเพรียงกัน
ช่วงเวลา ในรอบปีหนึ่ง ชาวมุสลิม มีวันฮารีรายอ 2 ครั้ง คือ
1) อีดิลฟิตรี ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนเชาวาล ซึ่งเป็นเดือน 10 ตามปฏิทินอิสลาม ซึ่งเป็นวันออกบวช
2) อีดิลอัฏฮา ตรงกับวันที่ 10 เดือน ซุลฮิจญะ หรือตรงกับเดือน 12 ของปฏิทินอิสลาม ซึ่งเป็นการฉลอง วันออกฮัจญ์ หรือ ถือเป็นวันครบรอบการถือศีลอดของเดือนรอมฎอน
(3) วันอาชูรออ์ จะมีการทำบุญร่วมกัน โดยการทำขนมที่มีชื่อว่า บูโบซูรอ วิธีการทำ คือ การกวนข้าว น้ำตาล มะพร้าว กล้วย ผลไม้อื่นๆ และวัตถุดิบต่างๆ ที่ชาวบ้านนำมา เอามาผสมกันในกะทะใหญ่ และช่วยกันกวนคนละไม้คนละมือ จนกระทั่งทุกอย่างเละจนกลายเป็นเนื้อเดียวกัน มีการปรุงรสให้มีรสชาติหวานตัดด้วยรสเค็มนิดหน่อย จนกระทั่งว่าได้ที่แล้ว จึงตักใส่ถาดรอให้ขนมเย็นเอาไปเลี้ยงแขกเหรื่อหรือ
อาจจะเก็บไว้กินวันต่อไป ก็จะมีรสชาติอร่อยไปอีกด้วย มีความเชื่อกันว่า ประเพณีการกวนขนมเป็นประเพณีของชีอะหฺ แม้ว่า จะมีการอ้างว่ารำลึกถึงเหตุการณ์อื่นๆ ก็ตาม มุสลิมซุนนีย์บางพวกจะถือศีลอดงดอาหารในวันอาชูรออ์
(4)วันรอมฎอน เดือนรอมฎอน จะเป็นเดือนที่ 9 ตามปฏิทินอิสลาม ซึ่งยึดตามจันทรคติ ชาวมุสลิมทั่วโลกจะถือศีลอดประจำปีในช่วงเวลากลางวันของเดือนนี้ โดยพวกเขาจะอดอาหารตั้งแต่แสงอรุณขึ้นไปจนถึงพระอาทิตย์ตกดิน
งานประจำปี มีดังนี้
อำเภอควนโดน ได้ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน
พื้นที่ จัดโครงการจัดงานวันจำปาดะ ผลไม้และของดีจังหวัดสตูล ในเดือนสิงหาคมของทุกปี เพื่อประชาสัมพันธ์ผลไม้ในพื้นที่และเพื่อส่งเสริมการขายและการท่องเที่ยวในอำเภอควนโดน
7.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
การทำปลาพอง เป็นการถนอมอาหารให้สามารถอยู่ได้ยาวนาน โดยการนำปลาสดมาล้างให้สะอาดแล้วหมักเกลือประมาณ 2-3 วัน หลังจากนั้นคั่วข้าวสารและมาตำพอแหลก นำมาโรยบนตัว สามารถถนอมอาหารให้อยู่ได้นานเป็นเดือน โดยไม่ต้องแช่ตู้เย็น อีกทั้งยังสามารถนำไปจำหน่ายสร้างรายได้ในครัวเรือนอีกด้วย
ภาษาถิ่น
อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล มีพื้นที่ติดกับชายแดนประเทศมาเลเซีย จึงได้มีส่วนซึมซับวัฒนธรรมมลายูจากประเทศมาเลเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมทางด้านภาษามลายู โดยที่ชาวควนโดนใช้ภาษามลายูพูดสื่อสารร่วมกับภาษาไทยท้องถิ่นภาคใต้
7.4 OTOP สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
มีกาแฟโบราณควนโดน ซึ่งแต่เดิมกาแฟโบราณ ภาษาท้องถิ่นเรียกว่าโกปี้หรือกูปี้ ชื่อเพี้ยนมาจากภาษามลายูว่าโกปี้ เริ่มเข้ามาจากแถบวังประจันซึ่งเป็นเขตรอยต่อกับรัฐปะลิส ประเทศมาเลเซีย แล้วเริ่มแพร่หลายในอำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ปัจจุบันนี้ กลายเป็นผลิตภัณฑ์โอทอปและของที่ระลึกของอำเภอ ควนโดน จังหวัดสตูล ควบคู่กับกับข้าวซ้อมมืออำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
8. ทรัพยากรธรรมชาติ
8.1 น้ำ
(1) คลองดุสน ต้นน้ำกำเนิดจากภูเขาบรรทัดตอนใต้ ไหลผ่านตำบลควนสตอ ตำบลควนโดน ตำบลย่านซื่อ ตำบลฉลุง ตำบลคลองขุด โดยมีฝายชลประทานดูสนเก็บกักน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตร อุปโภค และบริโภค
(2) คลองบาราเกต ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาบรรทัดตอนเหนือไหลผ่านตำบลทุ่งนุ้ย ตำบลควนกาหลง ตำบลควนโดน และตำบลท่าแพ มีฝายชลประทานขนาดเล็ก คลองท่าแพรในพื้นที่หมู่ที่ 3 ตำบลควนโดน สามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรได้
8.2 ป่าไม้
ป่าไม้ในพื้นที่ตำบลควนโดน จะมีป่าชุมชนบ้านนาปริก หมู่ที่ 9 ตำบลควนโดน ซึ่งประกอบด้วย พรรณไม้นานาชนิด เช่น ตะเคียน ยาง มะค่า เป็นต้น
8.3 ภูเขา
มีภูเขาในพื้นที่ตำบลควนโดน จำนวน 12 ลูก ประกอบด้วย
(1) ภูเขาไฟไหม้ ตั้งอยู่ระหว่าง หมู่ที่ 2,10 ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
(2) ภูเขาพระยาบังสา ตั้งอยู่ระหว่าง หมู่ที่ 2,3,8 ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน
จังหวัดสตูล
(3) ภูเขานาหาร ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
(4) ภูเขาลูกช้าง ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 6 ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
(5) ภูเขาโต๊ะกรัง ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 6 ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
(6) ภูเขาตกน้ำ (ถ้ำพระ) ตั้งอยู่ระหว่างหมู่ที่ 7,6 ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน
จังหวัดสตูล
(7) ภูเขาบูเก็ตยามู ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 7 ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
(8) ภูเขาพะเนียด ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 9 ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
(9) ภูเขานาโต๊ะโผ ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 7 ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
(10) ภูเขาป่าโต๊ะโร๊ะ ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 7 ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล (11) ภูเขาถ้ำแรด ตั้งอยู่ระหว่าง หมู่ที่ 3 ตำบลทุ่งนุ้ยและหมู่ที่ 9 ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
(12) ภูเขานาโต๊ะโด ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 9 ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
8.4 ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญขององค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน
ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ตำบลควนโดน จะยังคงสมบูรณ์เพราะมีป่าต้นน้ำ ลำคลอง ห้วย และมีน้ำใช้ตลอดทั้งปี แต่ปัจจุบันนี้ ได้มีการบุกรุกพื้นที่เพื่ออยู่อาศัย และทำสวนกันมากขึ้น ทำให้ป่าเริ่มลดน้อยลง
9. อื่น ๆ(ถ้ามีระบุด้วย)
ในพื้นที่หมู่ที่ 6 บ้านสะพานเหล็ก จะมีทรัพยากรธรรมชาติหินปูน และบริษัทเอกชนได้ขอประทานบัตรเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนและทำโรงโม่หิน
|